เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนเเห่งอนาคต

เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนแห่งอนาคต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  เทคโนโลยีใหม่เพื่อสมาร์ทโฟนแห่งอนาคต
  

  1. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) 

  2. หน้าจอแสดงผลที่สามารถบิดงอได้

  3. ภาพฮอโลกราฟี (Holograms)

  4. เทคโนโลยี Dolby Vision 


                  1. เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) 
คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม  ส่วน Reality แปลว่าความจริง   นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยกไม่ออก     
ความเป็นมาของ  AR
        เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่าง ๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว  โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่น ๆ ก็ตาม  แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล  ทั้ง VR และ AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา
Augmented Reality
         AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติมีความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ในโลกสังคมออนไลน์หรือการตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่ง ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ หากเปรียบสื่อต่าง ๆ เสมือน “กล่อง” แล้ว AR คือการเด้งออกมาสู่โลกใหม่ภายนอกกล่องที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง
Image result for โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)
          เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้ มีหลักการทำงานโดยสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น    2  ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทํางาน (Marker based AR)   และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR) หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย
  1. Marker (หรือที่เรียกว่า Markup)
  2. กล้องวิดีโอ เว็บแคม  กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ
  3. ส่วนการแสดงผลภาพ เช่นจอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล
  4. ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ object 3D
พื้นฐานหลักของ AR  
        ใช้หลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือการเคาะ (Beat    Detection)  การจดจําเสียง   (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect  แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น  ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat    Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น    เสียงในการสั่งให้ตัว  Interactive Media ทํางาน
        ทั้งนี้การสั่งการด้วยเสียงจัดว่าเป็น  AR  และในส่วนของการประมวลผลภาพนั้น เป็นส่วนเสริม เพราะเน้นไปที่การทํางานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI)   ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่านสีและรูปภาพ
        เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง หากในอนาคตเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย หากเรามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้ใช้ แต่มนุษย์ไม่ได้เจริญตามเทคโนโลยีด้วย การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็จะไม่เป็นปกติสุขได้เลย
                         2. หน้าจอแสดงผลที่สามารถบิดงอได้

หน้าจอที่โค้งงอได้ (Bendable) ทำให้มันไม่มีวันนแตก (Unbreakable)

สิ่งแรกที่ต้องอ้างถึงคือ ด้วยโครงสร้างของเจ้าหน้าจอแบบโค้งได้นี้ เป็นหน้าจอที่มีพื้นฐานอิงบนหน้าจอแบบ OLED ซึ่งไม่ต้องการแผง backlight ด้านหลังแบบจอ LCD เดิม และเจ้าจอโค้งได้นี้สามารถแสดงผลบนวัสดุที่ทำมาจาก “พลาสติก” ได้ แทนที่จะเป็นกระจกแบบหน้าจอแบบเดิมๆ ซึ่งนี่เป็น
สิ่งที่ทำให้หน้าจอแบบแบบใหม่นี้มาพร้อมกับคำจำกัดความใหม่ 2 คำ คือ โค้งงอได้ (Bendable) และ ไม่มีวันแตก (Unbreakable)
ในส่วนของการโค้งงอได้นั้น เนื่องจากหน้าจอแบบใหม่นี้ มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มคล้ายกับถุงแบบ zip lock จึงทำให้มันสามารถดัดแปลงรูปร่างของมันได้ค่อนข้างหลากหลาย
samsung bendable display
และด้วยความที่วัสดุของมันทำมาจากพลาสติก ทำให้ถึงแม้เราจะทำมือถือตกหน้าจอกระแทกเข้ากับพื้นผิวแข็งๆ ตัวหน้าจอของมือถือเราก็จะไม่แตก (นี่คือสิ่งที่บทความเกี่ยวกับหน้าจอ bendable / flexible display จะกล่าวไว้ นั่นคือไม่มีวันแตก แต่ของจริงจะเป็นอย่างไร เราต้องรอพิสูจน์กันตอนมือถือที่ใช้จอแบบนี้ออกวางจำหน่ายจริงๆอีกทีครับ)
อย่างไรก็ดี สำหรับมือถือนั้น ถึงแม้หน้าจอจะใช้งานจอแบบ bendable / flexible display แต่ว่าองค์ประกอบอื่นๆในตัวเครื่องเช่น เมนบอร์ด แรมหรือแบตเตอร์รี่นั้นไม่ได้ผลิตมาให้สามารถโค้งตามจอได้ด้วย (ถึงแม้จะมีข่าวว่าองค์ประกอบเหล่านี้ก็เริ่มเข้าสู่การผลิตแบบให้สามารถโค้งงอได้แล้ว แต่ว่าน่าจะต้องใช้เวลาอีกซักพักครับ) นั่นไม่ได้หมายความว่ามือถือของคุณจะไม่มีวันพังนะครับ เพราะถ้าชิ้นส่วนที่เสียหายเป็นส่วนอื่นๆในเครื่อง ก็ทำให้มันพังได้เช่นกัน
Image result for หน้าจอแสดงผลที่สามารถบิดงอได้
                          3. ภาพฮอโลกราฟี (Holograms)
โฮโลแกรม (Hologram)
ฮอโลแกรม เป็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ ซึ่งแตกต่างจากภาพ 2 มิติ ภาพฮอโลแกรมจะใช้หลักการสร้างภาพให้มีการแทรกสอดของแสงที่มากระทบรูปภาพ โดยการฉายแสงเลเซอร์จากแหล่งเดียวกัน แยกเป็น 2 ลำแสง ลำแสงหนึ่งเป็นลำแสงอ้างอิงเล็งตรงไปที่แผ่นฟิล์ม อีกลำแสงหนึ่งเล็งไปที่วัตถุและสะท้อนไปยังฟิล์ม แสงจากทั้งสองแหล่งจะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มในรูปแบบของการแทรกสอด (Interference Pattern) ซึ่งมองไม่คล้ายกับรูปของวัตถุต้นแบบ ก่อให้เกิดภาพเสมือน (Virtual image) ขึ้นมาตามมุมของแสงที่มาตกกระทบ ทำให้ตาของเรารับแสงอีกด้านหนึ่งของแผ่น Hologram เกิดเห็นภาพ 3 มิติขึ้น
ฮอโลแกรมถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ฮอโลกราฟี (Holography) โดยฮอโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมือนกับว่าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึกปรากฏเป็นสามมิติ ฮอโลแกรม 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถโต้ตอบแบบตัวต่อตัว
ประเภทของโฮโลแกรม
1. white-light hologram  คือ ภาพฮอโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ
2. ภาพฮอโลแกรม ที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้
นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งฮอโลแกรมออกได้เป็น transmission hologram, reflection hologram, image-plane hologram, และอื่นๆ อีกหลายประเภท
การสร้างฮอโลแกรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. การบันทึกภาพ (recording of image) เป็นการบันทึกแถบการสอดแทรกเชิงซ้อน (Complex interference patterns) ซึ่งเกิดจากที่แต่ละแสงเลเซอร์ 2 ลำแสงซ้อนทับกันอยู่ (Superposition) แถบการสอดแทรกเชิงซ้อนนี้จะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มถ่ายรูป (Photographic film)
2. การสร้างภาพ (reconstruction of image) เป็นการสร้างภาพ 3 มิติ ขึ้นจากแผ่น
Image result for ภาพฮอโลกราฟี (Holograms)
                               4. เทคโนโลยี Dolby Vision 
Dolby Vision ก็คือเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อคุณภาพที่ดีที่สุดสำหรับการดูหนังในปัจจุบันนี้ ช่วยให้ภาพสดใส ดูมีชีวิตชีวา ทำให้เราดูหนังอย่างมีอรรถรสมากขึ้น เพราะ Dolby Vision สามารถแสดงเฉดสีให้สมจริงแบบคนถ่ายเห็นอย่างไร เราก็จะเห็นอย่างนั้นและยังแสดงผลของภาพทั้งความเข้ม ลึก และสว่างมากกว่าปกติแก้ปัญหาการผิดเพี้ยนของภาพ ถ่ายทอดภาพให้เราได้เห็นตามต้นฉบับที่ผู้ถ่ายทำต้องการนำเสนอ
Image result for เทคโนโลยี Dolby Vision
ปัจจุบันผู้ผลิตหนังระดับ Major จาก Hollywood และวีดีโอสตรีมมิ่งเจ้าดังอย่าง Netflix เองก็หันมาเลือกใช้การถ่ายทำด้วยเทคโนโลยี Dolby Vision กันมากขึ้นทำให้เรามีตัวเลือกหนังให้รับชมมากมาย หากคุณมักรับชมหนังเรื่องโปรดผ่านสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเดินทาง ท่องเที่ยว หรือยามพักผ่อน การมีสมาร์ทโฟนที่รองรับ Dolby Vision ก็จะช่วยให้ช่วงเวลาความบันเทิงของคุณเพลิดเพลินได้อารมณ์มากยิ่งขึ้น
Image result for เทคโนโลยี Dolby Vision
ล่าสุดเทคโนโลยี Dolby Vision ก็ได้ถูกนำเข้ามาสู่สมาร์ทโฟนเป็นครั้งแรกใน LG G6 สมาร์ทโฟนพรีเมียม ที่มาพร้อมหน้าจอ 5.7 นิ้ว ซึ่งแอลจี ประเทศไทยเพิ่งเปิดตัวคืนสังเวียนตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในไทยไปเมื่อเร็วๆ นี้ และยังเป็นสมาร์ทโฟนพรีเมียมแบรนด์เดียวในขณะนี้ที่นำเสนอเทคโนโลยี Dolby Vision และ HDR 10 โดยสามารถใช้งานโหมด Dolby Vision ได้ถึง 4 โหมดคือ โหมด Bright นำเสนอวีดีโอคุณภาพดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่สว่างขึ้น, โหมด Vivid เพิ่มความสว่างและสีเพื่อภาพที่คมชัดขึ้น, โหมด Cinematic ให้ภาพที่ใกล้เคียงโรงภาพยนตร์มากที่สุดและโหมด Standard รักษาสมดุลระหว่างการประหยัดพลังงานและคุณภาพวีดีโอ

No comments:

Post a Comment