เทคโนโลยีเปลี่ยนยุคธุรกิจเเละอุตสาหกรรมใหม่

เทคโนโลยีเปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  เทคโนโลยีเปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่


1.ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) 

2. โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR) 

3. บล็อกเชน (Blockchain

4. โดรน (Drones)


                 1.ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial 

                   Intelligence หรือ AI) 
  
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยา การคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์
ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science
งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ 
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)
ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) 
ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)
เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)
เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) 
ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
Image result for 1.ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)
2. Roboics
พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์

3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)
ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)


             2. โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented 

                       Reality หรือ AR) 

คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม  ส่วน Reality แปลว่าความจริง   นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยกไม่ออก     
ความเป็นมาของ  AR
        เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 จัดเป็นแขนงหนึ่งของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ กล้องเว็บแคม หรือกล้องในโทรศัพท์มือถือ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมือถือ และการสื่อสารข้อมูลไร้สาย รวมทั้งการประมวลต่าง ๆ มีความรวดเร็วขึ้นและมีราคาถูก จึงทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว  โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ AR เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ แม้จะไม่ฮอตฮิตเหมือนแอพตัวอื่น ๆ ก็ตาม  แต่อนาคตยังไปได้อีกไกล  ทั้ง VR และ AR สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวางหลากหลาย ทั้งด้าน อุตสาหกรรม การทหาร การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร และ การศึกษา
Augmented Reality
         AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง มีการแสดงผลที่แสดงวัตถุมีการเคลื่อนไหว ดูมีมิติมีความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ในโลกสังคมออนไลน์หรือการตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่ง ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ หากเปรียบสื่อต่าง ๆ เสมือน “กล่อง” แล้ว AR คือการเด้งออกมาสู่โลกใหม่ภายนอกกล่องที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง
Image result for โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)
          เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้ มีหลักการทำงานโดยสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น    2  ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทํางาน (Marker based AR)   และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR) หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย
  1. Marker (หรือที่เรียกว่า Markup)
  2. กล้องวิดีโอ เว็บแคม  กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ
  3. ส่วนการแสดงผลภาพ เช่นจอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล
  4. ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ object 3D
พื้นฐานหลักของ AR  
        ใช้หลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือการเคาะ (Beat    Detection)  การจดจําเสียง   (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect  แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น  ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat    Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น    เสียงในการสั่งให้ตัว  Interactive Media ทํางาน
        ทั้งนี้การสั่งการด้วยเสียงจัดว่าเป็น  AR  และในส่วนของการประมวลผลภาพนั้น เป็นส่วนเสริม เพราะเน้นไปที่การทํางานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI)   ในการสื่ออารมณ์กับผู้ใช้บริการผ่านสีและรูปภาพ
        เทคโนโลยี AR นี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจริงได้รอบ โดยไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปสถานที่จริง หากในอนาคตเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือความก้าวหน้าของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาควบคู่กันไปด้วย หากเรามีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้ใช้ แต่มนุษย์ไม่ได้เจริญตามเทคโนโลยีด้วย การดำรงชีวิตของมนุษย์ก็จะไม่เป็นปกติสุขได้เลย
                          3. บล็อกเชน (Blockchain

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร?

บล็อกเชนเปรียบเสมือนเครือข่ายการเก็บข้อมูลแบบหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลเดียวกัน เราจึงรู้ว่าใครมีสิทธิและเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านี้จริงๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในแต่ละบล็อก (Block) ที่เชื่อมโยงกันบนเครือข่ายเหมือนกับห่วงโซ่ (Chain) นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เราเรียกรูปแบบการเก็บและแชร์ข้อมูลแบบนี้ว่า Blockchain 
blockchain1
นอกจากนี้ เมื่อธุรกรรมต่างๆ ถูกบันทึกในบล็อกเหล่านี้แล้ว เราจะไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ได้ เพราะทุกคนต่างก็มีสำเนาหรือประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมดอยู่กับตัว จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่ใครจะมาปลอมแปลงข้อมูล โดยปราศจากการรับรู้จากผู้คนส่วนใหญ่
                       4. โดรน (Drones)
   โดรน นั้นมีอีกชื่อนึงว่า UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วโดรนไม่ได้ใช้ในการบันเทิงเหมือนในปัจจุบันนะครับ แต่จะใช้ในการทหาร ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้โดรนในการสอดแนมพื้นที่แวดล้อมของข้าศึก หรืออาจจะโหดกว่านั้นก็ติดอาวุธเข้าไปถล่มศัตรูจากระยะไกลซะเลย ซึ่งก็มีข้อดีก็คือไม่ต้องใช้คนจริงเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงอันตรายนั่นเอง
ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จนมาถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีของโดรนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนไม่ได้จำกัดแค่ในทางทหารเท่านั้น ในปัจจุบันโดรนถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้โดรนถ่ายรูป/ถ่ายวิดีโอจากมุมสูง ใช้ในการเกษตร หรือแม้กระทั่งใช้การขนส่งสินค้าที่ทาง google และ amazon กำลังพัฒนาให้สามารถส่งสินค้าไปยังบ้านคนซื้อได้ภายในรัศมีทำการ
โดรนของเล่น
               สำหรับในปัจจุบันนั้น โดรนที่นิยมใช้กันในรูปแบบต่างๆนั้นก็คือ มัลติโรเตอร์ หรือ มัลติคอปเตอร์ ที่เรียกอย่างนี้เพราะเป็นโดรนแบบใบพัด แต่ละใบพัดก็มีมอเตอร์ของตัวเอง รูปร่างก็จะคล้ายๆเฮลิคอปเตอร์แต่จะอาศัยใบพัดเยอะกว่า ที่นิยมกันก็จะเป็นแบบ 4 ใบพัด และ 6 ใบพัด ซึ่งมัลติคอปเตอร์นั้นก็มีข้อดีตรงสามารถขึ้น – ลง ในแนวตั้งได้ ซึ่งเจ้าตัวมัลติโรเตอร์นี่เองที่เป็นพระเอกที่คนนำไปดัดแปลงในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้งานตามที่ตัวเองต้องการ ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดู
  • นำกล้องมาติดเพื่อถ่ายรูปจากมุมสูง
  • ใช้ในการขนส่งสินค้าอย่างที่ google และ amazon กำลังพัฒนา
  • ใช้โดรนฉีดปุ๋ย พ่นสารเคมี ในการเกษตร
  • ใช้โดรนตรวจสภาพจราจร เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์
  • ใช้โดรนในการช่วงชีวิตผู้ประสบภัยในพื้นที่ๆผู้ช่วยชีวิตเข้าถึงยาก
ยังมีอีกหลายอย่างที่โดรนสามารถทำได้ ซึ่งอยู่ที่การวิจัยเพื่อเพิ่มเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ หลายท่านอาจจะเริ่มสนใจในเจ้าโดรนขึ้นมาแล้ว ในบทต่อไป ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักโดรนยี่ห้อต่างๆ ที่มีขายในปัจจุบัน ว่าในแต่ละรุ่นมีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร แบบไหนเหมาะกับงานถ่ายรูป แบบไหนเหมาะกับงานใช้กำลัง แบบไหนต้องสั่งจากต่างประเทศ ต้องสั่งอุปกรณ์มาประกอบเอง
  Image result for โดรน วิกิพีเดีย

No comments:

Post a Comment